Testosterone กับ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย

tsetosterone ฮอร์โมนเพศชาย

ฮอร์โมนแห่งความเป็นชายชาตรี หรือ Testosterone เป็นฮอร์โมนเพศชายที่เรามักคุ้นหู รู้จักกันดี แต่ฮอร์โมนเพศชายตัวนี้ไม่ได้มีบทบาทชูโรงแค่ในเรื่องสมรรถภาพทางเพศเพียงอย่างเดียว

เรามาทำความรู้จัก Testosterone ให้ลึกซึ้งถึงแก่นแท้กัน ฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้าง? ฮอร์โมนเพศชายมีกี่ชนิด? หากร่างกายมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ถือว่าผิดปกติหรือไม่? เพราะฮอร์โมนเพศชาย Testosterone มีความสำคัญมากกว่าที่คุณคิด…

ฮอร์โมนเพศชาย คือ ….

ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมน Testosterone เป็นฮอร์โมนเพศตัวหนึ่งที่กำหนดลักษณะความเป็นชายของคุณ ทั้งลักษณะทางร่างกาย ปริมาณการมีเส้นขนตามร่างกาย การพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูก รวมไปถึงการความต้องการทางเพศ การสร้างอสุจิ แล้วฮอร์โมนเพศชาย มีอะไรบ้างล่ะ….ก็คือฮอร์โมน Testosterone นี่แหละ จะสร้างขึ้นที่บริเวณอัณฑะและจะสร้างมากสุดหรือ peak ในช่วงวัยยี่สิบต้นๆ

ฮอร์โมนเพศชายมีกี่ชนิด หลักๆ แล้วฮอร์โมนเพศชายที่กำหนดแสดงลักษณะความเป็นเพศชายก็คือ ฮอร์โมน Testosterone เพียงตัวเดียวที่มีบทบาทมาก แต่ในเพศชายเองไม่ได้มีแค่ฮอร์โมน Testosterone ยังมีฮอร์โมน Estrogen ในระดับที่น้อยมากๆ เพื่อให้ร่างกายสมดุล ในผู้หญิงก็มีฮอร์โมน Testosterone ตัวนี้เช่นกันแต่จะมีปริมาณที่น้อยมาก เพราะฮอร์โมนเพศหญิง คือ ฮอร์โมน Estrogen ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าTestosterone มากๆ ในเพศหญิง เพื่อกำหนดลักษณะความเป็นผู้หญิงต่างๆ ออกมา

คุณรู้จัก ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ดีหรือยัง? ในปัจจุบันอาจจะยังมีความเข้าใจผิดๆ ความเชื่อหลอกๆเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศชายหลงเหลืออยู่บ้าง

  • ถ้าคุณมีระฮอร์โมนเพศชาย Testosterone เยอะ เท่ากับว่ายิ่งดี มีความเป็นชายสูง—— “ผิดมหันต์!” ความจริงคือ ถ้าคุณมีระดับของ ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone ในร่างกายสูงกว่าปกติ ร่างกายจะเปลี่ยน ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone บางส่วนให้เป็น ฮอร์โมน Estrogen เพื่อให้มันสมดุลกัน และการมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูงมากเกินไป นั้นอาจทำให้คุณมีอารมณ์ก้าวร้าวมากกว่าปกติ

ฮอร์โมนเพศชายมากเกินไปไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายเท่าไหร่นัก และระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ ควรอยู่ระหว่าง 300 – 1,000 นาโนกรัม/เดซิลิตร และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 679 นาโนกรัม/เดซิลิตร หากมีสุขภาพแข็งแรง ระดับฮอร์โมนเพศชายจะอยู่ที่ 400-600 นาโนกรัม/เดซิลิตร แน่นอนว่าร่างกายคุณจะมีการสร้างฮอร์โมนเพศชาย peak ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หลังจากนั้นก็จะมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น จะเริ่มสังเกตได้หลังอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือภาวะวัยทอง มีอารมณ์ฉุนเฉี่ยว

หรือหากมี ฮอร์โมนเพศชายต่ำเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน กรณีมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำในช่วงวัยรุ่น อาจส่งผลต่อการพัฒนาการของอวัยวะเพศ ถุงอัณฑะ การผลิตอสุจิ การมีเสียงทุ้ม หนวดเคราบาง รวมถึงการพัฒนาขนาดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่างๆด้วย อีกกรณีคือการที่มีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้อวัยวะเพศแข็งตัวได้ไม่ดีเหมือนปกติ อารมณ์แปรปรวนง่าย สมรรถภาพทางเพศลดลงด้วย….

หากมี ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ จะมีสาเหตุ อาการ ที่สังเกตได้อย่างไรบ้าง และการรักษาภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ทำได้ยังไงบ้าง…
แน่นอนว่าอายุที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ แต่ก็ยังมีปัจจัยสาเหตอื่นๆอีก ที่ทำให้คุณมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ หรือระดับฮอร์โมนเพศชายแปรปรวนจนส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวันได้

สาเหตุไหนบ้างที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนต่ำลง

  • การมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวานชนิดที่2 หรือโรคอ้วน
  • การมีปัญหาสุขภาพไต โรคตับอักเสบ โรคเอดส์ การได้รับบาดเจ็บที่อวัยวะเพศ
  • การรักษาโรคมะเร็ง ด้วยวิธีทำทำรังสีบำบัด คีโมบำบัด
  • การติดสุรา

ซึ่งการมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่ต่ำลง หรือภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย หรือใครไม่ทราบว่าตัวเองมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ให้สังเกตอาการต่อไปนี้

  • ร่างกายมีความแข็งแรงลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีอาการปวดเมื่อยตามข้อต่อ กระดูก
  • มักมีปัญหาเรื่องการนอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับ แต่ไม่สนิท
  • และอามีอาการเซื่องซึมหดหู่ ในบางท่าน รู้สึกตัวเองมีความกระตือรือร้นน้อยลง
  • มีมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง

สังเกตอาการที่อาจบอกได้ว่า คุณอาจจะมีภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ

  • รู้สึกว่าอวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้ดีเหมือนปกติ
  • ร่างกายไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง อาจรู้สึกเพลียเหมือนพักผ่อนไม่เต็มที่
  • ความรู้สึกทางเพศลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • รู้สึกมีเครียดได้ง่าย กังวลและไม่ค่อยมั่นใจ
  • อารมณ์แปรปรวนมากกว่าปกติ

ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย หรือ ภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ หลักๆแล้วมีวิธีการรักษาอยู่สองทาง คือ

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการใช้ชีวิตของคุณ ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ
  1. งดการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้น้อยเกินไปหรือมากเกินไป
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่ให้ตนเองเครียดเกินไป
  4. รับประทานอาหารให้เหมาะสม มีประโยชน์
  • การรักษาด้วยการ ให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน

ในปัจจุบันการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน เพื่อปรับสมดุลการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายให้เป็นปกติ รวมถึงความต้องการทางเพศและสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งทุกวันนี้มียาฮอร์โมนเพศชายทดแทนให้เลือกหลากหลายมาก ทั้งแบบยาสำหรับรับประทาน ยาฉีด ยาสำหรับทา ลักษณะเป็นเจลใส หรือแบบแผ่นแปะ ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับคุณ

รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี

สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthaiสืบพงษ์ เอ่งฉ้วน

นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)

บทความล่าสุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *