อีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยเลย ก็คือ นิ่วในไต เพราะเกิดจากการตกตะกอนและสะสมของสารเคมีในปัสสาวะ ไม่ว่าจะ หินปูน เกลือแร่ต่างๆ รวมตัวกันเป็นก้อน มักพับที่ไตบริเวณกรวยไตและทางเดินปัสสาวะ อาการของโรคนิ่ว ปวดบริเวณข้างลำตัว หรือหลัง รุนแรงเป็นช่วง ๆ / ปัสสาวะขุ่นแดง / ปัสสาวะแล้วเจ็บ ปัสสาวะน้อย / ปัสสาวะไม่ออก / คลื่นไส้อาเจียน มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในไตมีอะไรบ้าง วิธีการรักษานิ่วในไตโดยไม่ต้องผ่าตัด การเตรียมตัวก่อนสลายนิ่ว สามารถติดตามได้ในบทความนี้
สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในไต
- มีโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ – ภาวะน้ำหนักตัวมากเกินไป
- ดื่มน้ำน้อยเกินไป – โรคแทรกซ้อนจากโรคเกาต์
- โรคเบาหวาน – กินอาหารที่มีโปรตีน / เกลือ / น้ำตาลสูงเกินไป
- ดื่มน้ำน้อยหรือมีภาวะขาดน้ำ – มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่ว เป็นต้น
วิธีการรักษา
- กรณีที่นิ่วก้อนเล็กมาก ๆ สามารถดื่มน้ำมาก ๆ ให้นิ่วหลุดออกมาเองตามธรรมชาติได้ หรืออาจจะใช้ยาบรรเทาปวด หรือ ยาขับก้อนนิ่วควบคู่กันไป
- การใช้เครื่องสลายนิ่ว (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL)
- การส่องกล้องสลายนิ่ว (Ureteroscopy)
- การรักษาแบบผ่าตัด (Percutanrous Nephrolithotomy : PCNL)
*** ในที่นี้เราจะกล่างถึงวิธีที่สอง การใช้เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) เป็นหลัก
เครื่องสลายนิ่ว (ESWL) เป็นเครื่องมือชนิดพิเศษที่มีการนำคลื่นเสียงความถี่สูง (Supersonic Speed) กระแทกก้อนนิ่วให้แตกเป็นผงหรือเม็ดเล็ก ๆ แล้วขับออกจากร่างกายโดยระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดจากการรักษาน้อยกว่าวิธีการผ่าตัด ไม่มีอาการแทรกซ้อน ไม่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน
การเตรียมตัวเพื่อไปรับการสลายนิ่ว
- ควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ไปรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามวันนัด
การปฏิบัติตัวหลังจากการสลายนิ่ว
- วันแรกอาจจะเกิดอาการปวด ควรรับประทานยาที่แพทย์จัดให้ อาการจะทุเลาลง อาจจะมีอาการปัสสาวะแดง ควรนอนพักและดื่มน้ำให้มาก อาการจะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน
- งดทำงานหรือ ออกกำลังกายหนัก ในเวลา 1-2 วัน
- ดื่มน้ำมาก ๆ โดยประมาณ 3- 4 ลิตรต่อวัน เพื่อให้น้ำช่วยพาเศษนิ่วที่แตกให้หลุดออกมาได้เร็วขึ้น
- หลังการรักษาควรออกกำลังกายเป็นประจำ และสังเกตว่ามีเศษนิ่วหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะบ้างหรือไม่
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษา นิ่วในไต
- ขนาดของนิ่ว ถ้านิ่ว มีขนาดใหญ่เกินกว่า 2 ซม. หรือ มีหลายก้อน อาจจะต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจึงจะประสบผลสำเร็จ
- ความแข็งของนิ่ว ถ้านิ่วมีองค์ประกอบที่แข็งมากอาจจะต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง หรือต้องใช้พลังงานระดับสูงขึ้น อาจจะเพิ่มความเจ็บปวดได้
- การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
- ความผิดปกติของกายวิภาคของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดนิ่วในไต ผ่าตัดท่อไต อาจทำให้นิ่วที่แตกแล้วไม่สามารถหลุดออกมาได้ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องหยุดการสลายนิ่ว
สรุป นิ่วในไต
นิ่วในไตเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย จึงมีการรักษาหลากหลายวิธีมากมาย หนึ่งในนั้นคือการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก โดยไม่ต้องผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีการรักษานิ่วในไตด้วยวิธีผ่าตัดในกรณีที่ก้อนนิ่วแข็งหรือใหญ่เกินไปอีกด้วย สามารถอ่านได้ที่บทความ “ส่องกล้องผ่าตัดนิ่วในไต” สำหรับใครที่ไม่อยากเป็นสามารถป้องกันได้ง่ายๆด้วยการดื่มน้ำมากๆ สังเกตอาการ ปรึกษาแพทย์เมื่อรู้สึกว่ามีอาการที่ผิดปกติ สามารถทักสอบถามได้ที่ Line OA ฟรี
รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี
สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthai
นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)
บทความล่าสุด
ฝังมุกจากที่อื่นมา หมอเบียร์เอามุกออกได้ไหม
ฝังมุกนั้น ไม่เ
การทำหมันชายดีกว่าวิธีคุมกำเนิดอื่นๆอย่างไร
ปัญหาการตั้งครร
เทคนิคการฝังมุกที่ปลอดภัย
สำหรับคุณผู้ชาย
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการฝังมุก
แน่นอนว่าเมื่อม
ฝังมุกเพื่ออะไร หมอเบียร์มีคำตอบ
ถ้าพูดถึงเรื่อง
คำแนะนำก่อนการฝังมุก
ฝังมุก เป็นการน
กินยาแก้หลั่งเร็วนานๆ อันตรายไหม
ผู้ชายหลายคนคงเ
ทำหมันชายกับหญิงต่างกันอย่างไร
เกิดประเด็นถกเถ