รู้ได้อย่างไรว่าเรา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นฝันร้ายของชายทุกวัยมาอย่างเนิ่นนาน นับตั้งแต่สมัยของชาวอียิปต์โบราณราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล จนนำมาสู่การสรรหาวิธีในการต่อกรกับปัญหานี้แทบจะทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารสุดพิสดาร สมุนไพรสูตรต่างๆ

หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์บางอย่างที่เกินกว่าจินตนาการ ซึ่งแท้จริงแล้วภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศก็คือ ภาวะที่ไม่สามารถคงการแข็งตัวขององคชาติตลอดช่วงการมีเพศสัมพันธ์

ส่งผลให้เกิดความไม่พึงพอใจ และภาวะนี้มักเกิดต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป เราจะรู้ได้อย่างไรอ่านต่อในบทความนี้เลยครับ

รู้ได้อย่างไร ว่าเรา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยหรือคู่ครองก็มักรับรู้ถึงภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เองอยู่แล้ว แต่การพบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายก็จะช่วยให้ทราบหาสาเหตุที่ตรงจุดมากกว่า โดยแพทย์จะซักถามความรุนแรง โรคประจำตัว

ยาที่ใช้ ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน ตรวจร่างกายที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นการตรวจหาระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ในกรณีผู้ป่วยที่สงสัยภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ เป็นต้น

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

รู้ทันปัญหาคุณผู้ชาย

อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หมายถึง การที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวและแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้สำเร็จจนเป็นที่พึงพอใจอยู่เป็นประจำหรืออย่างต่อเนื่อง

ซึ่งการที่จะทราบว่าอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุใด จะให้การรักษาได้อย่างไร จะต้องเข้าใจกลไกการแข็งตัวขององคชาตก่อน

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การแข็งตัวขององคชาตมีด้วยกัน 3 กลไก อะไรบ้าง

  1. การแข็งตัวเวลานอนหลับ (Nocturnal Erection) เวลานอนหลับองคชาตจะมีการแข็งตัวคืนละประมาณ 4 – 6 ครั้ง ครั้งละ 15 – 30 นาที
  2. การแข็งตัวจากจิตใจ (Psychogenic Erection) เมื่อมีความต้องการทางเพศจากสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระตุ้น คำสั่งจะส่งจากสมองมายังแกนสมองส่วนที่เรียกว่า พาราเวนทริคูลาร์นิวเคลียสที่อยู่บริเวณไฮโปทาลามัส จากนั้นคำสั่งจะผ่านไขสันหลังลงมายังศูนย์กลางการแข็งตัวขององคชาตบริเวณไขสันหลังระดับกระดูกก้นกบและผ่านเส้นประสาทคาร์เวอนัส (Cavernous Nerve) ที่มากระตุ้นให้เส้นเลือดในองคชาตมีการขยายตัว เลือดเข้ามาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้องคชาตแข็งตัว
  3. การแข็งตัวจากรีเฟล็กซ์ (Reflexogenic Erection) เมื่อมีการกระตุ้นหรือสัมผัสบริเวณองคชาตก็จะมีสัญญาณผ่านจากเส้นประสาทที่องคชาต (Dorsal Nerve) ไปยังศูนย์กลางการแข็งตัวที่ไขสันหลังระดับกระดูกก้นกบและส่งสัญญาณกลับมายังองคชาต (Cavernous Nerve)

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction ; ED) พบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากขึ้นเมื่อคุณผู้ชายมีอายุมากขึ้น โดยจะพบได้ราวร้อยละ 5-10 ในกลุ่มชายอายุต่ำกว่า 40 ปี และพบได้มากขึ้นเป็นร้อยละ 40 ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 70 ปี ส่วนในกลุ่มอายุ 80 ปี จะพบได้ราวร้อยละ 75 เลยทีเดียว

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อาการของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวหรือคงความแข็งตัวไว้ได้ จนทำให้เกิดความพอใจในขณะปฏิบัติกิจทางเพศได้

หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

สาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศคืออะไร

  • ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดหรือความกังวลต่างๆ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งกลัวว่าอวัยวะเพศจะไม่สามารถแข็งตัวได้ จนกลายเป็นสิ่งรบกวนใจถึงขนาดที่ทำให้เกิดเป็นความคาดการณ์ไปเองว่าจะเป็นเช่นนั้น
  • สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมองและการลดลงของแรงขับทางเพศ ได้แก่ อาการซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยาต้านการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด และแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการป่วยเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ ปอด ไต หรือโรคตับ และโรคมะเร็งบางชนิด
  • การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง รวมถึงระดับเทสโทสเทอโรนลดลง ระดับโปรแลกตินเพิ่มขึ้น(ซึ่งขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมพิทูอิทารี่) และภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป
  • ความผิดปกติต่างๆ ทางสมอง ซึ่งความผิดปกตินี้อาจไม่มีผลต่อเรื่องความต้องการทางเพศ แต่จะมีความเกี่ยวเนื่องทางระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการทำหน้าที่ทางเพศ ความผิดปกติดังกล่าวจะรวมถึงเนื้องอกในสมองและเส้นเลือดในสมองอุดตันด้วย
  • มีความผิดปกติที่บริเวณไขสันหลัง เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง (Multiple Sclerosis) หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
  • เส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย โดยมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน หรือการผ่าตัดกระดูกเชิงกรานเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งลำไส้
  • การรับประทานยาบางชนิดก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการเสื่อสมรรถภาพทางเพศได้ ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า anticholinergics ยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน ยาลดความดันโลหิตสูง เบต้า-บล็อกเกอร์ (และยาลดความดันอื่นๆ ในกลุ่ม antihypertensives) รวมไปถึงการได้รับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ ด้วย
  • โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลาย (การไหลเวียนของเลือดไม่ถึงอวัยวะส่วนปลายสุดและอวัยวะเพศชาย)
  • ความอ่อนล้า
  • อายุมากขึ้น

สรุป รู้ได้อย่างไรว่าเรา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

คนมีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทุกราย หากคนไข้และคู่สมรสไม่รู้สึกเดือดร้อนที่ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่อย่างไรก็ตามคนไข้ที่มีปัญหานี้เป็นข้อบ่งชี้ว่า อาจจะเกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

ดังนั้นแม้ว่าไม่ต้องการจะมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ควรจะได้รับการตรวจเช็กสุขภาพ หากปัญหาหย่อนสมรรภาพทางเพศกวนใจคุณ ปรึกษาหมอเบียร์ได้ที่ LINE OA หรือ เข้ามาที่สาขาใกล้บ้านคุณคลิกที่นี่

รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี

สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthaiสืบพงษ์ เอ่งฉ้วน

นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)

บทความล่าสุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *