เมื่อฮอร์โมนอายที่จะออกโรง การเกิดภาวะ”พร่องฮอร์โมนเพศชาย” เป็นภาวะที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือมีระดับฮอรโมนเทสโทสเตอโรนลดลงอย่างผิดปกติ มักพบได้ในเพศชายที่มีอายุเท่าไหร่บทความนี้มีคำตอบครับ ลักษณะอาการของภาวะพร่องฮอร์โมน
เช่น สูญเสียพลังงาน อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง ความต้องการทางเพศลดลง ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย ขาดความมั่นใจ หรือซึมเศร้า ง่วงนอนหลังมื้ออาหาร หรือขาดสมาธิในการทำงาน
หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพร่างกาย หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจระดับฮอร์โมนเพศชายโดยเฉพาะ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจ คล้ายกับในผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต และให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน เป็นอาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด แต่จะค่อยๆเพิ่มระดับขึ้นเรื่อยๆ จนคุณผู้ชายหลายคนไม่ได้สังเกตเห็น พออาการเริ่มมากเข้าก็คิดว่าเป็นเพราะวัยที่เริ่มร่วงโรยไป รู้สึกชินกับอาการดังกล่าว ทำให้ไม่ได้เดือดร้อนถึงขนาดต้องหาที่ปรึกษา
รู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะ”พร่องฮอร์โมนเพศชาย”
โดยปกติฮอร์โมนเพศชายจะเริ่มลดลงเมื่ออายุประมาณ 50 ปี แต่สำหรับผู้ชายที่ไม่ค่อยดูแลตัวเอง ใช้ชีวิตอย่างหนักหน่วง ขาดการพักผ่อนต่อเนื่อง อาจมีปัญหาได้ตั้งแต่อายุ 40 – 45 ปี โดยสังเกตได้จากสัญญาณเตือนว่าคุณอาจเสี่ยงเป็นภาวะ พร่องฮอร์โมนเพศชาย เบื้องต้น ดังนี้
- ด้านระบบประสาทและจิตใจ ได้แก่ หลงลืม สมาธิความจำสั้น หงุดหงุดง่าย กระสับกระส่าย วิตกกังวล
- ด้านร่างกาย มีอาการร้อนวูบวาบ ปวดตามข้อ ปวดเมื่อยตามร่างกายทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีกิจกรรมหนัก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง เคยแบกของเป็นกิโลๆ ตอนนี้ยกอะไรแทบไม่มีเรี่ยวแรง เหนื่อยหน่ายไม่อยากจะทำอะไร อ่อนเพลีย หนังตาจะปิดโดยเฉพาะหลังทานอาหาร
- ด้านเพศ โดยหนวดเคราจะขึ้นช้าลง อารมณ์ทางเพศเริ่มลดลงไปจนขาดความสนใจในกิจกรรมทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะลดลง
- ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ เพราะการวินิจฉัยจากอาการอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องมีการประเมินจากแบบสอบถามและตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ
การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมน
ส่วนใหญ่แพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุที่ให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมน แล้วมุ่งแก้ไขในต้นเหตุของปัญหาดังกล่าว เช่น การปรับพฤติกรรม การรักษาโรคที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายมีระดับฮอร์โมนเป็นปกติและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ ใช้ชีวิตโดยปราศจากโรคเรื้อรัง และจะต้องมีการกลับคืนของสุขภาพทางเพศ สามารถมีกิจกรรมทางเพศได้
กลุ่มที่มีความเสี่ยง
เพศชายที่มีความเครียด ใช้ชีวิตหนักพักผ่อนน้อย อ้วนลงพุง ไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง อาการไม่กระฉับกระเฉง เฉื่อยชา ขาดความมั่นใจ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน อ้วนลงพุง เล้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว รู้สึกร้อนวูบวาบ ไม่มีความรู้สึกทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
วิธีการตรวจเริ่มจากการทำแบบสอบถาม เพื่อคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในเบื้องต้นแพทย์จะประเมินอาการ โดยการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชายด้วยการเจาะเลือด จากนั้นจะวินิจฉัยการรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามอาการของผู้ป่วย
จากการเก็บข้อมูลการรักษา
จากการเก็บข้อมูลการรักษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าอาการดังกล่าวเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และปล่อยผ่านจนเลยจุดที่ยากต่อการรักษา สิ่งสำคัญผู้ป่วยควรตระหนักถึงกลุ่มอาการและปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะเหล่านี้ อาการของผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง อีกทั้งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากโรคและความผิดปกติอื่นๆ ได้เช่นกัน
ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง สมรรถภาพทางเพศบกพร่อง อ่อนเพลีย กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง อารมณ์แเปรปรวน หลงลืมง่าย นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น โดยมีการคาดการณ์ว่าฮอร์โมนเพศชายจะค่อยๆ ลดลงร้อยละ 1-2 ต่อปีของปริมาณที่มีอยู่เดิมหลังจากผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีฮอร์โมนเพศชายที่กล่าวถึง คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ทำให้เด็กผู้ชายเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่นจะมีเสียงห้าว มีหนวด เครา และอวัยวะเพศมีพัฒนาการมากขึ้น
โดยเซลล์ในลูกอัณฑะเองอยู่ภายใต้อิทธิพลจากต่อมใต้สมองทำให้มีการผลิตฮอร์โมนตามปกติ หากเซลล์ในอัณฑะไม่ตอบสนองต่อการควบคุมจากต่อมใต้สมองก็จะทำให้การผลิตฮอร์โมนเพศลดลง การไม่ตอบสนองต่อต่อมใต้สมองอาจจะเกิดจากการป่วยเรื้อรังได้ เช่น เบาหวาน อ้วน ดื่ม แอลกอฮอล์ สูบบุรี่ เป็นต้น
การพร่องฮอร์โมนเพศชายทำให้จู๋เล็กเป็นเรื่องจริงครับ การผลิตฮอร์โมนเพศลดลงทำให้อารมณ์ทางเพศเริ่มลดลง การแข็งตัวก็ลดลง ส่งผลให้จู๋เล็กลงเรื่อยๆ แต่ก็มีวิธีแก้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การควบคุมการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมัน รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายที่จำเป็นต่อสรีระการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การคงสภาวะกระดูกกล้ามเนื้ออารมณ์ ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ โดยเฉพาะความรู้สึกถึงคุณภาพการดำรงชีวิต และการตอบสนองทางเพศ
รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี
สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthai
นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)
บทความล่าสุด
ฝังมุกทำดีไหม? คำแนะนำก่อนฝังมุกจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับคุณผู้ชาย
ฝังมุกราคาเท่าไหร่ ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อราคาของการฝังมุก
สำหรับการฝังมุก
ฝังมุกสไตล์หมอเบียร์ ช่วยเพิ่มความเสียวได้จริงไหม?
ถ้าพูดถึงเรื่อง
ทำหมันชาย โรงพยาบาลหรือคลินิกดี
ปัจจุบันการคุมก
ทำหมันชาย ประกันสังคมใช้ได้ไหม
ทำหมันประกันสุข
น้องชายสั้นร่วมรักท่าไหนดี ช่วยให้เรื่องบนเตียงมีความสุขที่สุด
การมีเพศสัมพันธ
ฝังมุกเพื่ออะไร จุดประสงค์และข้อควรระวังของการฝังมุก
หนึ่งในการเสริม
อวัยวะเพศสั้น อยากยาวขึ้น ทำได้ไหม
คุณผู้ชายหลายคน