ภาวะซึมเศร้า ปัญหาแฝงที่ส่งผลต่อ สมรรถภาพทางเพศ

ภาวะซึมเศร้า

เชื่อไหมครับว่าปัญหาสมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย อาการที่น้องชายไม่แข็ง นกเขาไม่ขัน หรือแม้แต่การที่คุณไม่มีอารมณ์ทางเพศเอาซะเลย คนส่วนใหญ่มักจะนึกไปว่าเป็นการทำงานผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลต่อน้องชายของตัวเอง

ซึ่งจริงๆ ปัญหาเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางด้านร่างกายเสมอไป เพราะมีผู้ชายหลายๆ คนที่กำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ เพราะมีสาเหตุทางด้านจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น ภาวะซึมเศร้า ปัญหาแฝงที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ

ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีปัจจัยมาจากความเครียด ความวิตกกังวล ความไม่มั่นใจในตัวเอง หรือความกังวลใจว่าตัวเองมอบความสุขในเรื่องเซ็กส์ให้กับคู่รักได้ไม่เพียงพอ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่ของคุณอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ประเด็นคือ แล้วเราจะรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อย่างไรดี ? หมอจะพาไปดูจากบทความนี้ครับ….

เนื้อหาในบทความนี้

  1. ทำไมภาวะซึมเศร้า จึงส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ
  2. ปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า
  3. รับมือกับปัญหาสมรรถภาพทางเพศอย่างไร
  4. ข้อดีของการไปปรึกษาแพทย์

ภาวะซึมเศร้า กับ สมรรถภาพทางเพศ

ทำไม ภาวะซึมเศร้า จึงส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ?

สงสัยไหมครับว่ามันส่งผลต่อกันอย่างไร ก็เพราะว่าสมองของคนเรา เป็นอวัยวะสำคัญในระบบประสาทที่ควบคุมความคิดจิตใจและการทำงานของร่างกาย ความรู้สึกทางเพศก็เป็นผลมาจากการทำงานของสมองและระบบประสาทนี่แหละ ซึ่งจะกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศและมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ

แต่เมื่อไหร่ที่เราเกิดภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าขึ้น ระดับของสารเคมีในสมองมันจะขาดความสมดุล ทำให้เกิดอารมณ์เศร้า ส่งผลต่ออารมณ์ทางเพศที่ลดลง รู้สึกไม่มีความสุขหากมีเพศสัมพันธ์ จึงอาจเป็นผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศไปด้วย รวมไปถึงการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด ก็อาจมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยขาดความต้องการทางเพศ และส่งผลสมรรถภาพทางเพศได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มโมโนเอมีนออกซิเดส (MAOIs) : เป็นยากล่อมประสาทที่ช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า
ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (SNRIs) : ที่ช่วยเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาทเซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและหงุดหงิด
ยาต้านซึมเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) : ที่ช่วยเพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าและทำให้อารมณ์ดีขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า ที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ

  1. ปัญหาความสัมพันธ์ การกระทบกระทั่งกันเป็นเรื่องปกติของคู่ชีวิต แต่หากขาดการพูดคุยสื่อสารให้เข้าใจ ก็อาจเป็นตัวแปรให้ความสัมพันธ์เปราะบางและมีความปรารถนาต่อกันน้อยลง
  2. ความกลัวว่าจะสร้างความพึงพอใจให้คู่ได้ไม่มากพอ ความวิตกกังวลในสมรรถภาพทางเพศของตัวเองมากเกินไป อาจเป็นเหตุให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวขึ้นจริงๆ ได้
  3. การขาดความมั่นใจในตัวเอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความมั่นใจในตัวเองถดถอย ในทางกลับกันผู้ที่มีความมั่นใจต่ำ ก็อาจด้อยค่าตัวเองว่าไม่มีเสน่ห์ดึงดูดหรือไม่คู่ควรกับอีกฝ่าย นอกจากนี้ความไม่มั่นใจยังทำให้เกิดความรู้สึกผิด ซึมเศร้า วิตกกังวลและกลัวถูกปฏิเสธอีกด้วย
  4. ความเฉยชาในความสัมพันธ์ อาจเกิดจากความเบื่อหน่าย หรือความขัดแย้งที่มาแทนที่ความตื่นเต้น และความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก
  5. ความรู้สึกผิด ไม่ว่าจากเรื่องใดก็ตาม อาจทำให้มีความคิดลงโทษตัวเองและปฏิเสธความพึงพอใจจากการมีเซ็กส์เพื่อไถ่โทษ

วิธีรับมือกับภาวะซึมเศร้า

รับมือกับปัญหาสมรรถภาพทางเพศอย่างไร ในขณะที่มีภาวะซึมเศร้า ?

สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศของตัวเอง โดยเฉพาะคนที่คาดว่ามีปัญหาสมรรถภาพทางเพศจากการเผชิญภาวะซึมเศร้าอยู่ โดยปกติแล้วแพทย์จะวางแผนบำบัด ให้ใช้ยารักษา หรือให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. รักษาภาวะซึมเศร้าก่อน เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากกำลังเผชิญภาวะซึมเศร้าอยู่ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะหากหายจากภาวะนี้ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน และมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ
  2. ปรับการใช้ยาต้านเศร้า เนื่องจากยาต้านเศร้าบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่กระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา และอาจเลี่ยงไปใช้ยาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว หรือแพทย์อาจปรับไปใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าชนิดอื่นเพื่อลดปัญหาเพศสัมพันธ์ลง
  3. ใช้ยากระตุ้นชนิดอื่น ผู้ป่วยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับยาที่ช่วยกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดในด้านขั้นตอน ปริมาณ และวิธีการใช้ยา
  4. ใช้สารหล่อลื่น สำหรับผู้ป่วยเพศหญิงที่อาจมีปัญหาช่องคลอดแห้งอาจใช้สารหล่อลื่นทาบริเวณช่องคลอด โดยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนใช้เสมอ
  5. ใช้เทคนิคกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การกอด การสัมผัส และการนวดร่างกายจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศได้ รวมถึงการแต่งกาย หรือการดูสื่อที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศ และอาจเพิ่มเวลาในการเล้าโลมให้นานขึ้น เพื่อให้ตนและคู่ครองมีความต้องการทางเพศเพิ่มมากขึ้นและสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดสูบฉีดไปยังอวัยวะเพศได้ดีขึ้น และยังช่วยผ่อนคลายอารมณ์ให้ตึงเครียดน้อยลงและรู้สึกดีขึ้นได้
  7. ทำความเข้าใจกับคู่รัก ผู้ป่วยควรพูดคุยทำความเข้าใจกับคู่รักของตัวเองว่าภาวะซึมเศร้านั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตทางเพศอย่างไร เพื่อคลายความรู้สึกผิด สร้างความผูกพันเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน แล้วหาแนวทางแก้ไขร่วมกันต่อไป
  8. ยอมรับและปรับความเข้าใจ ในความเป็นจริง คนเราอาจไปไม่ถึงจุดสุดยอดทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เสมอไป ผู้ป่วยจึงควรทำความเข้าใจธรรมชาติของคนเรา อีกทั้งภาวะซึมเศร้าที่เผชิญอยู่เป็นเพียงปัญหาสุขภาพจิตที่เผชิญในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น และอาการจะดีขึ้นเองหากได้รับการรักษา
  9. รับการบำบัดทางจิต ผู้ป่วยอาจปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพื่อเข้ารับการบำบัดแบบพูดคุยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เพื่อหาแนวทางจัดการปัญหาทางจิตใจด้วยตนเองภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อดีของการไปปรึกษาแพทย์

ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายที่เกิดจากภาวะซึมเศร้า หรือภาวะทางจิตใจและอารมณ์นั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ ข้อสำคัญคือ ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับคำแนะนำเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะสามารถหาแนวทางในการรักษาให้กับตัวคุณได้อย่างเหมาะสม

รวมถึงการประเมินสุขภาพทางเพศและระดับความเครียดที่เป็นปัจจัยแฝงอีกด้วย ถ้าเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าตัวคุณกำลังเผชิญกับปัญหานี้ หรือมีความเครียดความวิตกกังวลที่น่าจะส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ อย่าอายที่จะเข้าไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะยิ่งคุณรู้สาเหตุและรักษาได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะกลับมาหายดีและได้คุณภาพชีวิตที่ดีเร็วขึ้นเท่านั้น

รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี

สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthaiสืบพงษ์ เอ่งฉ้วน

นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)

บทความล่าสุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *