กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการเป็นอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากบริเวณรอบท่อปัสสาวะ โดยส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย

ขณะที่ผู้ชายมีท่อปัสสาวะยาวกว่าและอยู่ห่างจากทวารหนัก โอกาสที่เชื้อโรคจะผ่านเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะจึงมีน้อยกว่ามาก โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น อีโคไล เชื้อโรคเหล่านี้จะมีอยู่มากบริเวณรอบๆ ทวารหนัก สามารถปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะและเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะได้

ซึ่งเชื้อโรคมาจากทวารหนักเป็นสาเหตุสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมีสภาวะที่อำนวย เช่น ความไม่สะอาดกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ โรคเบาหวาน และยังมีโรคในทางเดินปัสสาวะหลายโรคเอื้ออำนวยให้เกิด หรือเกิดร่วมกันกับกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่ที่พบบ่อยคือกลุ่มสาวออฟฟิศ ที่ทำงานแบบไม่ค่อยลุกออกจากโต๊ะ ชอบอั้นปัสสาวะไว้นานๆ

หรือกลุ่มที่ต้องเดินทางไกลแล้วไม่อยากใช้ห้องน้ำสาธารณะ รวมถึงการดื่มน้ำน้อยไปในแต่ละวัน และเมื่อมีอาการ หลายคนมักเลือกที่จะอดทนกับความทรมาน หรือไม่ก็ไปซื้อยามากินเอง เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหรืออายที่จะไปพบแพทย์ แต่รู้ไหมว่า กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้ออื่นๆ ที่รุนแรง รวมถึงกลายเป็นโรคอื่นได้อีกด้วย ในบทความนี้จะมาพูดถึงอาการของกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากสาเหตุที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ และวิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไปดูกันเลยครับ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการเป็นอย่างไร

  1. ปวดหน่วงท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
  2. กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  3. รู้สึกระคายเคือง เจ็บ แสบร้อนขณะปัสสาวะ
  4. ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งละน้อยๆ เหมือนปัสสาวะออกได้ไม่สุด
  5. ปัสสาวะเป็นเลือด หรือมีเลือดปนช่วงปลายของการปัสสาวะ
  6. ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร

  1. เกิดจากพฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ส่งผลให้เชื้อโรคมีการเจริญเติบโตมากขึ้น และมีแรงดันในกระเพาะปัสสาวะที่ทำให้เยื่อบุผิวยึดตัว จนเชื้อโรคฝังตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเกิดเป็นการอักเสบ
  2. การชำระล้างอวัยวะเพศ(หญิง) ไม่ถูกวิธี หรือไม่ระมัดระวัง โดยหลังจากทำธุระเสร็จควรล้างหรือใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
  3. ในชายอายุ 50-60 ปีขึ้นไปที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต เป็นปัจจัยทำให้ชายสูงอายุเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้เท่าเทียมกับผู้หญิงสูงอายุ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานระหว่างวัน เพื่อขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย
  2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ ให้เพียงพอ
  3. ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะหรืออุจจาระเสร็จอย่างถูกวิธี
  4. ทำความสะอาดร่างกายและอวัยวะเพศทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

วิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

แนวการรักษาหลักๆ คือการให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วันขึ้นอยู่กับชนิดของยา ร่วมกับการรักษาตามอาการหากจำเป็น เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และพยายามดื่มน้ำให้มากๆ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยารับประทานเองเนื่องจากอาจได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรคและจะทำให้ดื้อยาได้ง่าย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

สรุป กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องที่ต้องระวัง โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทำงานที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่ก็มีวิธีที่สามารถป้องกันได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เราสามารถลดความเสี่ยงการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้โดยการไม่อั้นปัสสาวะ นานเกิน 6 ชม. และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อขับเชื้อโรคออกจากร่างกาย

ทั้งนี้ กระเพาะปัสสาวะอักเสบเป็นโรคที่สัมพันธ์กับพฤติกรรม หากเป็นซ้ำๆ หลายครั้งก็มีโอกาสพบเชื้อโรคที่ดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีความรุนแรงมากขึ้น และยังสามารถพัฒนากลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบได้อีกด้วย หากต้องการปรึกษากับทางอีเทอร์นิตี้คลินิก สามารถติดต่อที่คลินิก หรือสอบถามผ่านทาง Line OA ได้เลยครับ

รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี

สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthaiสืบพงษ์ เอ่งฉ้วน

นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)

บทความล่าสุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *