กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่ไม่ควรมองข้าม

กระเพาะปัสสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection : UTI)

จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย

โดยปกติแล้วมาจากหลายสาเหตุ เช่นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หลังมีเพศสัมพันธ์ทำให้กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อและอักเสบ ซึงเมื่อรู้ว่าเป็นแล้วไม่ควรรักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วยตัวเอง หรือกินโซดา เพราะไม่เป็นความจริง

ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระบุว่า “ไม่เป็นความจริง” เพราะน้ำโซดา คือ น้ำที่อัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป เพื่อเพิ่มความอร่อย โดยการเพิ่มความซ่าให้กับเครื่องดื่มและช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น แต่ไม่ได้ช่วยรักษาอาการปัสสาวะขัด นอกจากนี้ โซดามีฤทธิ์เป็นกรดเล็กน้อย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งเสริมให้เกิดกรดไหลย้อน ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารควรหลีกเลี่ยงการดื่มโซดา

นอกจากนั้น การทำความสะอาดหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกวิธี การใช้ผ้าอนามัแบบสอดหรือการสวนปัสสาวะ นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย แต่มักเกิดได้น้อยมาก เช่น เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง การใช้ยา การใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น การฉายรังสีบริเวณกล้ามเนื้อเชิงกราน หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น

อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาการใดบ้างที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ?

ปวดปัสสาวะบ่อยมากกว่า 10 ครั้งต่อวันแบบกะปริบกะปรอย โดยเฉพาะต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยมากขึ้นในเวลากลางคืน ปัสสาวะแสบขัด เมื่อปัสสาวะสุด อาจมีเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ในบางรายอาจมีปัสสาวะปนเลือด

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ รักษาอย่างไรบ้าง?

โดยทั่วไปจะให้รับประทานยาปฏิชีวนะประมาณ 3-5 วัน แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ป้องกันได้อย่างไร?

  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะนานๆโดยไม่จำเป็น เพราะอาจทำให้แบคทีเรียที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดี
  • ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณวันละ 8 – 10 แก้วต่อวัน เพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกจากร่างกายโดยเร็ว
  • ควรทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระเสร็จ ผู้หญิงควรทำความสะอาดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ
  • ควรทำความสะอาดร่างกายและปัสสาวะทิ้งทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์

ปัสสาวะบ่อย อันตรายหรือไม่?

โดยปกติแล้ว เราจะปัสสาวะเฉลี่ย 6 – 8 ครั้งต่อวัน แต่หากมีการเข้าห้องน้ำที่บ่อยมากกว่านี้ นอกจากพฤติกรรมการดื่มน้ำที่มากเกินไป นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างได้

  • โรคเบาหวาน เพราะร่างกายไม่สามารถควบคุมน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงได้ ร่างกายจึงพยายามปรับโดยกำจัดน้ำตาลกลูโคสส่วนเกินผ่านปัสสาวะ
  • โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นการอักเสบติดเชื้อต่อเนื่องมาจากท่อปัสสาวะ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะนานๆ บ่อยๆ ทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดีพอ
  • โรคไต เนื่องมาจากการทำงานที่ผิดปกติของไต ไตไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้ดีเช่นเดิม จึงทำให้น้ำถูกขับออกจากร่างกายมากกว่า และบ่อยกว่าปกติ
  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือโอเอบี (OAB) จะมีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน ปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันไม่สามารถรอได้ และปัสสาวะเล็ดราด
  • ต่อมลูกหมากโต ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ และไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ทำให้มีอาการปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะไม่สุด ส่งผลให้ต้องปัสสาวะบ่อย
  • ตั้งครรภ์ เนื่องจากมดลูกของผู้หญิงจะขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ
  • ยา และสารบางชนิด ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติได้ เช่น ยาขับปัสสาวะ รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณมากๆ

หากคุณมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยที่ไม่ได้ดื่มน้ำ หรือไม่ได้บริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ และมีอาการอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณอันตราย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะ มีไข้ เป็นต้น ควรพบแพทย์ทันที

ใครที่มีปัญหานี้อยู่สามารถปรึกษาศัลยแพทย์ที่ชำนาญด้านระบบปัสสาวะ (Urologist) “หมอเบียร์” นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน ได้นะครับ

รับคำปรึกษาเบื้องต้น กับ “หมอเบียร์” ฟรี

สอบถามข้อมูลการรักษาและบริการเพิ่มเติม นัดหมายล่วงหน้า การเดินทางมาคลินิก
LINE:@ETERNITYCLINIC4
Facebook:@Eternityclinicthaiสืบพงษ์ เอ่งฉ้วน

นพ.สืบพงษ์ เอ่งฉ้วน “หมอเบียร์”
ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย (Urologist)
ศัลยกรรมทั่วไป (General surgeon)

บทความล่าสุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *